เหรียญคุ้มเกล้า เนื้อนวะ พ.ศ. 2522 เหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ 9 พิธีเด่น

รหัสสินค้า PD6309230009
ทั้งหมด 1  ชิ้น
เข้าดู 6,236  ครั้ง
ราคา ฿580 ฿700
การจัดส่ง  ทั่วประเทศไทย สินค้าพร้อมส่ง การันตีส่งจริง 100%
จำนวน     สินค้าคงเหลือ 0 ชิ้น   ( - สินค้าหมด - )
แชร์สินค้านี้
รายละเอียดสินค้า

เหรียญที่ระลึกคุ้มเกล้า พ.ศ. 2522 สภาพเหรียญสวยงามน่าสะสม รับประกันแท้ตลอดชีพตามหลักสากล จัดส่งให้พร้อมตลับอะคริลิคสวยงาม เหรียญวาระดีพิธีเด่น น่าเก็บสะสมมากๆ ครับ


เหรียญมหามงคล " คุ้มเกล้า " มีลักษณะทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.6 ซ.ม. จัดสร้าง 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร."


วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อนำเงินรายได้สร้างอาคารโรงพยาบาลภูมิพล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างเหรียญพระบรมรูป และอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประทับไว้ด้านหลังเหรียญ โดยโปรดเกล้าฯให้ช่างในพระองค์เป็นผู้ปั้นแบบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงรับเป็นองค์ประธานอุปถัมภ์ในการดำเนินงานฝ่ายบรรพชิต


ประกอบพิธีการลงอักขระแผ่นทองนาก เงิน แผ่นยันต์อักขระที่ใช้สร้าง ได้จัดพิธีลงอักขระ ณ. วัดราชบพิธ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นองค์ประธานพร้อมด้วย สมเด็จพระราชาคณะและพระเถระผู้ใหญ่รวม ๖๐ รูป ทำพิธีลงอักขระแผ่น ทอง นาก เงิน เป็นปฐมฤกษ์ หลังจากนั้นได้นำแผ่น ทอง นาก เงิน ไปให้พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศ จารึกอักขระจนครบ ๑,๒๕๐ รูป... นับว่าเป็นพิธีที่มีการลงแผ่นทองมากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ พระเกจิอาจารย์ที่สำคัญทั้งหมดในประเทศไทยขณะลงแผ่นทองมาทั้งหมด


ประกอบพิธีพุทธาภิเษก พิธีปลุกเสกหมู่ใหญ่สนามหลวง ๔ วัน ๔ คืน โดยโยงสายสิญจน์จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังปะรำพิธี ณ.ท้องสนามหลวง นิมนต์พระเถรานุเถระผู้ทรงคุณ เกจิอาจารย์ดัง ๑๐๘ รูป จากทั่วประเทศผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกปลุกเสกตลอดรวม ๔คืน โดยในวันแรกของพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.๙) ทรงเสด็จจุดไฟพระฤกษ์ ณ.พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มอบให้พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศอัญเชิญเข้าขบวนแห่มายังปะรำพิธี จากนั้นในเวลา ๑๙.๑๙ น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้เสด็จมาจุดเทียนชัยจากไฟพระฤกษ์ เริ่มพิธีพุทธาภิเษกจนถึงรุ่งอรุณของวันที่ ๔ จึงได้อัญเชิญสมเด็จพระญาณสังวร ดับเทียนชัยเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก นับเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์


คณาจารย์ที่ร่วมพิธีในคราวนี้ อาทิ เช่น หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง , หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง , หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพา สุรินทร์ , หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง , หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสะต๋อย , ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า , หลวงพ่อคำแสน วัดถ้ำผาเงา , หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ , หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน , หลวงพ่อหลุย วัดเจติยาวิหาร , หลวงพ่อพวง วัดศรีธรรมาราม ยโสธร , หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ , หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน , หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก , หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง , หลวงพ่อโอด วัดจันเสน , หลวงพ่อพุฒ วัดมณีสถิตย์ อุทัยธานี และอีกมากมายคณานับได้รวม 1,121 องค์